โรคที่เกิดจากผิวหนัง คือ โรคหิด Scabies ( สเกบีช ) เป็นโรคผิวหนังอักเสบที่เกิดจากตัวหิด ซึ่งเป็นตัวไรเล็ก ๆ สามารถมองเห็นด้วยตาเปล่าเป็นจุดขาวเล็ก ๆ ติดต่อโดยการสัมผัสใกล้ชิดกับคนที่เป็นโรคหิด หรือการใช้เสื้อผ้า เครื่องใช้ ที่นอนร่วมกัน เนื่องจากตัวเชื้อสามารถมีชีวิตอยู่นอกร่างกายได้ 2-3 วัน
ปอด เป็นอวัยวะหนึ่งในร่างกายที่มีความสำคัญอย่างยิ่งในสัตว์มีกระดูกสันหลัง ใช้ในการหายใจ หน้าที่หลักของปอดก็คือ การแลกเปลี่ยนก๊าซออกซิเจนจากสิ่งแวดล้อมเข้าสู่ระบบเลือดในร่างกาย และแลกเปลี่ยนเอาก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกจากระบบเลือดออกสู่สิ่งแวดล้อม ทำงานโดยการประกอบกันขึ้นของเซลล์เป็นจำนวนล้านเซลล์ ซึ่งเซลล์ที่ว่านี้มีลักษณะเล็กและบางเรียงตัวประกอบกันเป็นถุงเหมือนลูกโป่ง ซึ่งในถุงลูกโป่งนี้เองที่มีการแลกเปลี่ยนก๊าซต่าง ๆ เกิดขึ้น นอกจากการทำงานแลกเปลี่ยนก๊าซแล้ว ปอดยังทำหน้าที่อื่นๆอีก
โรคที่เกิดกับปอด คือ โรคปอดบวม ( Pneumonia ) ( นิวโมเนีย ) เป็นโรคปอดและระบบทางเดินหายใจซึ่งเกิดจากภาวะถุงลมในปอดเกิดอักเสบและมีของเหลวไหลท่วม โรคปอดบวมอาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น การติดเชื้อแบคทีเรีย เชื้อไวรัส เชื้อรา หรือพยาธิ โรคปอดบวมอาจเกิดจากการที่ปอดได้รับสารเคมีหรือการกระทบกระเทีอนทางกายภาพได้เช่นกัน
Bone - โบน - กระดูก
กระดูก (อังกฤษ: Bones) เป็นอวัยวะที่ประกอบขึ้นเป็นโครงร่างแข็งภายใน (endoskeleton) ของสัตว์มีกระดูกสันหลัง หน้าที่หลักของกระดูกคือการค้ำจุนโครงสร้างของร่างกาย การเคลื่อนไหว การสะสมแร่ธาตุและการสร้างเซลล์เม็ดเลือด
โรคที่อาจเกิดกับกระดูก คือ โรคกระดูกแตก ( Colles fracture ) คอนเลส ฟรักเจอร์
Thyroid glands - ไทรอยด์ แกรนด์ - ต่อมไทรอยด์
ต่อมไทรอยด์ (อังกฤษ: Thyroid gland) เป็นต่อมไร้ท่อที่อยู่ด้านหน้าของลำคอ โดยอยู่ด้านข้างและใต้ต่อกระดูกอ่อนไทรอยด์ (thyroid cartilage) และอยู่ลึกลงไปจากกล้ามเนื้อสเตอร์โนไฮออยด์ (sternohyoid) , สเตอร์โนไทรอยด์ (sternothyroid) และโอโมไฮออยด์ (omoyoid) ต่อมนี้มี 2 พู แผ่ออกทางด้านข้างและคลุมพื้นที่บริเวณด้านหน้าและด้านข้างของหลอดลม (trachea) รวมทั้งส่วนของกระดูกอ่อนคริคอยด์ (cricoid cartilage) และส่วนล่างของกระดูกอ่อนไทรอยด์ (thyroid cartilage) ทั้งสองพูนี้จะเชื่อมกันที่คอคอดไทรอยด์ (isthmus) ซึ่งอยู่ที่บริเวณด้านหน้าต่อกระดูกอ่อนของหลอดลม (trachea cartilage) ชิ้นที่สองหรือสาม
โรคที่อาจเกิดกับต่อมไทรอยด์ คือ Myxedema ( ไมซีดีมา )
ในผู้ที่มีไทรอยด์ฮอร์โมนต่ำ สารประกอบที่ประเภทวุ้นเช่น กรดไฮยาลูโรนิก (hyaluronic acid) และคอนดรอยติน ซัลเฟต (chondroitin sulfate) จะจับกับโปรตีนใต้ผิวหนังมากขึ้น ทำให้รู้สึกว่าผิวหนังบวมน้ำ หน้าบวม อ้วน ทำให้น้ำหนักเพิ่ม ผมและผิวแห้ง สมองจะทำงานช้าลง ปฏิกิริยาโต้ตอบช้า ประจำเดือนผิดปกติ เรียกกลุ่มอาการนี้ว่ามิกซีดีมา ( myxedema)
นอกจากนี้เสียงยังแหบและต่ำ จนมีผู้กล่าวว่ามิกซีดีมาเป็นโรคที่วินิจฉัยได้ทางโทรศัพท ์( myxedema is the one disease that can be diagnosed over the telephone) นอกจากนี้ยังจิตประสาทไม่ดี (myxedema madness) และมีผลต่อประสาทหูทำให้หูหนวกและเป็นใบ้ได้(deaf-mutism)Stomach - สโตแมช - กระเพาะอาหาร
กระเพาะอาหาร (อังกฤษ: Stomach) เป็นอวัยวะของทางเดินอาหารที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการย่อยอาหารที่ผ่านการเคี้ยวภายในช่องปากมาแล้ว กระเพาะอาหารยังเป็นอวัยวะที่มีสภาพแวดล้อมเป็นกรด โดยมักจะมีค่าพีเอชอยู่ที่ประมาณ 1-4 โดยขึ้นกับอาหารที่รับประทานและปัจจัยอื่นๆ นอกจากนี้ในกระเพาะอาหารยังมีการสร้างเอนไซม์เพื่อช่วยในการย่อยอาหารอีกด้วย ในศัพท์ทางการแพทย์จะเรียกโครงสร้างที่เกี่ยวกับกระเพาะอาหารโดยขึ้นต้นด้วยคำว่า gastro- และ gastric ซึ่งเป็นคำใน
ภาษาละตินที่หมายถึงกระเพาะอาหาร
โรคที่อาจเกิดกับกระเพาะอาหาร คือ แผลในกระเพาะอาหาร ( Peptic ulcer) เพบติก อัลเซอร์
คำว่า "โรคกระเพาะ" ตามความหมายของแพทย์ หมายถึง แผลที่เกิดบนเยื่อบุกระเพาะอาหาร (stomach)
หรือลำไส้เล็กส่วนต้นหรือดูโอดีนัม (duodenum) ตรงกับคำว่า แผลเพ็ปติก (Peptic ulcer) แต่เนื่องจาก
เรามักจะวินิจฉัย ผู้ที่มีอาการปวดท้องตรงยอดอกหรือใต้ลิ้นปี่ที่เกิดก่อนหรือหลังกินอาหารว่าเป็น "โรคกระเพาะ"
โดยไม่มีการตรวจยืนยันด้วยการส่องกล้องตรวจ หรือเอกซเรย์โดยการกลืนแป้งแบเรียม ดังนั้น จึงมีความหมาย
ครอบคลุมกว้างขวางมากกว่า แผลเพ็ปติกเพียงอย่างเดียว และคงใกล้เคียงกับความหมายของคำว่า "อาหารไม
่ย่อย" ซึ่งมีสาเหตุอันหลากหลายดังนั้นในที่นี้ จะขอใช้คำว่า แผลเพ็ปติก เมื่อกล่าวถึงโรคแผลที่ลำไส้เล็กส่วน
ต้นหรือแผล ดียู (Duodenal ulcer/DU) และโรคแผลที่กระเพาะอาหาร หรือแผลจียู (Gastric ulcer/
GU) แผลเพ็ปติก เป็นโรคที่พบได้บ่อย ประมาณ 10-20% ของคนทั่วไปจะมีโอกาสเป็นโรคนี้ในช่วงใดช่วง
หนึ่งของชีวิต แผลที่ลำไส้เล็กส่วนต้น (ดียู) พบในผู้ชายมากกว่าผู้หญิง ประมาณ 2-4 เท่า และพบมากในช่วง
อายุประมาณ 30-55 ปี ขณะที่แผลที่กระเพาะอาหาร พบในผู้ชายพอ ๆ กับผู้หญิง และพบในช่วงอายุประมาณ
55-70 ปี แต่ทั้ง 2 โรคนี้ก็สามารถพบได้ในคนทุกวัย
หรือลำไส้เล็กส่วนต้นหรือดูโอดีนัม (duodenum) ตรงกับคำว่า แผลเพ็ปติก (Peptic ulcer) แต่เนื่องจาก
เรามักจะวินิจฉัย ผู้ที่มีอาการปวดท้องตรงยอดอกหรือใต้ลิ้นปี่ที่เกิดก่อนหรือหลังกินอาหารว่าเป็น "โรคกระเพาะ"
โดยไม่มีการตรวจยืนยันด้วยการส่องกล้องตรวจ หรือเอกซเรย์โดยการกลืนแป้งแบเรียม ดังนั้น จึงมีความหมาย
ครอบคลุมกว้างขวางมากกว่า แผลเพ็ปติกเพียงอย่างเดียว และคงใกล้เคียงกับความหมายของคำว่า "อาหารไม
่ย่อย" ซึ่งมีสาเหตุอันหลากหลายดังนั้นในที่นี้ จะขอใช้คำว่า แผลเพ็ปติก เมื่อกล่าวถึงโรคแผลที่ลำไส้เล็กส่วน
ต้นหรือแผล ดียู (Duodenal ulcer/DU) และโรคแผลที่กระเพาะอาหาร หรือแผลจียู (Gastric ulcer/
GU) แผลเพ็ปติก เป็นโรคที่พบได้บ่อย ประมาณ 10-20% ของคนทั่วไปจะมีโอกาสเป็นโรคนี้ในช่วงใดช่วง
หนึ่งของชีวิต แผลที่ลำไส้เล็กส่วนต้น (ดียู) พบในผู้ชายมากกว่าผู้หญิง ประมาณ 2-4 เท่า และพบมากในช่วง
อายุประมาณ 30-55 ปี ขณะที่แผลที่กระเพาะอาหาร พบในผู้ชายพอ ๆ กับผู้หญิง และพบในช่วงอายุประมาณ
55-70 ปี แต่ทั้ง 2 โรคนี้ก็สามารถพบได้ในคนทุกวัย
Brain - เบรน - สมอง
สมอง (อังกฤษ: Brain) คืออวัยวะสำคัญในสัตว์หลายชนิดตามลักษณะทางกายวิภาค หรือที่เรียกว่า encephalon จัดว่าเป็นส่วนกลางของระบบประสาท คำว่า สมอง นั้นส่วนใหญ่จะเรียกระบบประสาทบริเวณหัวของสัตว์มีกระดูกสันหลัง คำนี้บางทีก็ใช้เรียกอวัยวะในระบบประสาทบริเวณหัวของสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังอีกด้วยสมองมีหน้าที่ควบคุมและสั่งการการเคลื่อนไหว, พฤติกรรม และรักษาสมดุลภายในร่างกาย (homeostasis) เช่น การเต้นของหัวใจ, ความดันโลหิต, สมดุลของเหลวในร่างกาย และอุณหภูมิ เป็นต้น หน้าที่ของสมองยังมีเกี่ยวข้องกับการรู้ (cognition) อารมณ์ ความจำ การเรียนรู้การเคลื่อนไหว (motor learning) และความสามารถอื่น ๆ ที่เกี่ยวกับการเรียนรู้
โรคที่อาจเกิดกับสมอง คือ โรคสมองอักเสบ ( Encephalitis ) เอนเซบฟาลิตีส
โรคสมองอักเสบหรือศัพท์ทางการแพทย์เรียก Encephalitis หมายถึงมีการอักเสบของเนื้อสมอง การอักเสบอาจจะเกิดทั้งสมองหรือบางส่วนของเนื้อสมอง สาเหตุของสมองอักเสบมักจะเกิดจากไวรัสเช่น เริม คางทูม หัดเยอรมัน ไข้สุกใส นอกจากนั้นยังเกิดจากยุงหรือไรกัดเช่น Japanese encephalitis
Liver - ลิเวอร์ - ตับ
ตับ เป็นอวัยวะที่พบในสัตว์ชนิดต่างๆ และมีบทบาทสำคัญในกระบวนการเมแทบอลิซึม รวมทั้งมีหน้าที่หลายประการในร่างกาย เช่นการสะสมไกลโคเจน การสังเคราะห์โปรตีนในพลาสมา การกำจัดพิษของยา และปฏิกิริยาทางชีวเคมีต่างๆมากมาย ตับยังจัดเป็นต่อมที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในร่างกาย โดยตับจะผลิตน้ำดี ซึ่งมีความสำคัญในกระบวนการย่อยอาหาร ในศัพท์ทางการแพทย์ คำที่มีความหมายเกี่ยวข้องกับตับจะขึ้นต้นด้วยคำว่า hepato- หรือ hepatic ซึ่งมาจากคำในภาษากรีก hepar ซึ่งหมายถึงตับ
โรคที่อาจเกิดกับตับ คือ โรคตับแข็ง ( Cirrhosis ) คริโรซิส
ตับแข็ง (อังกฤษ: Cirrhosis) เป็นภาวะซึ่งเป็นผลจากโรคตับเรื้อรัง มีลักษณะเฉพาะคือการมีเนื้อเยื่อพังผืดเกิดขึ้นในเนื้อตับ ดึงรั้งเนื้อตับดีจนเป็นผิวตะปุ่มตะป่ำเรียกว่า regenerative nodule ทำให้ตับเสียการทำงานลงไป ตับแข็งมักเกิดขึ้นเป็นผลจากพิษสุราเรื้อรัง ตับอักเสบจากไวรัส (โดยเฉพาะจากไวรัสตับอักเสบบีและซี) และโรคตับคั่งไขมัน รวมถึงสาเหตุอื่นๆ อีกหลายอย่าง
สรุปบทความ ( Dr. Grove )
Dr. Grove is patient.
He is a single man, 25 years old. He is a professor of mathematics at a major university. At an early age it became apparent that Dr. Grove was a genius. His capabilities were encouraged to develop to their fullest potential by his mother. He graduated from high school summa cum laude at the age of 13 and at the age of 19 had received a PH.D in mathematics. He lives at home with his aging mother.
Why is he in hospital ?
He has server abdominal pain and hematemasis . The act of eating allows the hydrochloric acid in the stomach to work on and be neutral lized by food rather than irritate the gastic mucosa.
He has an unconscious need to be dependent . Peptic ulcers may occur in an individual in whom there is a conflict between a strong drive for independence and an unconscious need to be dependent.
การรักษา Treatment
1. Eliminate chemical
2. Mechanical
3. Thermal irritation because irritation of the mucosa may cause increased bleeding or perforation and therefore should be avoided.
4. ทานยา Medication
5. รับประทานอาหารให้ตรงเวลา Dining on time.
6. ไม่ทานอาหารรสจัด Do not eat spicy food.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น